เกจ์คนไข้, เกจ์อ๊อกซิเจนที่ใช้กับผู้ป่วย, เกจ์หายใจ
กระบอกให้ความชื้น (Humidifier Bottle) อุปกรณ์สำคัญสำหรับใช้งานร่วมกับถังออกซิเจนให้มีประสิทธิภาพ
กระบอกให้ความชื้น เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่เมื่อใช้ร่วมกับถังออกซิเจนแล้วจะทำให้มีประสิทธิภาพสูงมากเลยทีเดียว เพราะหน้าที่ของเจ้ากระบอกให้ความชื้นนี้จะช่วยให้ออกซิเจนที่ส่งตรงไปยังผู้ป่วยได้ไอน้ำมากขึ้น จึงช่วยให้ลดการระคายเคืองและช่วยให้ผู้ป่วยสบายตัวขึ้นนั่นเอง
กระบอกให้ความชื้น หรือ กระปุกน้ำให้ความชื้น คืออะไร
กระบอกให้ความชื้น หรือ กระปุกน้ำให้ความชื้น คือ อุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างหนึ่งที่จำเป็นต้องใช้ร่วมกับถังออกซิเจนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับถังออกซิเจน โดยตัวกระปุกฝั่งหนึ่งจะถูกต่อเข้ากับผู้ป่วยและอีกฝั่งหนึ่งต่อเข้ากับถังออกซิเจน โดยน้ำที่เราเห็นอยู่ในกระปุกก็เป็นเพียงน้ำสะอาดต้มสุกเท่านั้นไม่ใช่ยาหรือสารพิเศษใด ๆ แต่ทั้งนี้น้ำที่จะใช้จะต้องต้มสุกและตั้งไว้จนเย็นเท่านั้น เพื่อความสะอาดและฆ่าเชื้อโรค
ทำไมต้องใช้กระบอกให้ความชื้นร่วมกับถังออกซิเจน
บ่อยครั้งเรามักจะเห็นกระบอกให้ความชื้นใช้งานคู่อยู่กับถังออกซิเจนอยู่เสมอ เราซึ่งเป็นผู้พบเห็นก็เกิดคำถามอยู่เสมอว่าทำไมต้องใช้งานร่วมกัน ก่อนอื่นต้องขอเล่าแยกการทำงานระหว่างถังออกซิเจนกับกระบอกให้ความชื้นก่อน เพราะอุปกรณ์ทั้ง 2 ชิ้นนี้ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แตกต่างกัน
โดยถังออกซิเจนก็ตรงตัวเลยก็คือถังที่บรรจุก๊าซออกซิเจน ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ ก๊าซออกซิเจนในถังออกซิเจนจะมีความเข้มข้นอยู่ที่ 99% เป็นตัวช่วยให้ออกซิเจนในเลือดของผู้ป่วยอยู่ในระดับที่เหมาะสม แต่หากเราใช้ถังออกซิเจนเพียงอย่างเดียวเป็นเวลานานก็จะไม่เป็นผลดีกับผู้ป่วยแน่ เพราะอากาศที่ออกมาจะเป็นออกซิเจนล้วน ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้นั่นเอง แต่หากเราใช้ร่วมกับกระบอกความชื้น ส่วนกระบอกนี้จะเข้ามาช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นในอากาศทำให้อากาศที่ออกไปถึงผู้ป่วยมีความชื้นที่พอเหมาะ ซึ่งจะทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นไม่แห้ง และไม่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ
กระบอกให้ความชื้น มีความจำเป็นแค่ไหน
ถ้าจะถามว่ากระบอกน้ำให้ความชื้นมีความจำเป็นมากแค่ไหน ให้เราลองจินตนาการหากเราต้องไปอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศแห้ง เป็นต้นว่าภูเขาสูงหรือที่ที่มีอากาศหนาวเย็น ในการที่เราจะหายใจได้แต่ละครั้งก็คงเป็นไปด้วยความยากลำบาก นอกจากนี้ผิวหน้าหรือโพรงจมูกของเราจะรู้สึกไม่สบายไปด้วยนั่นเอง
เช่นเดียวกันกับถังออกซิเจน หากเราอัดออกซิเจนไปให้กับผู้ป่วยโดยตรงก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาได้ แต่ในทางกลับกันหากถังออกซิเจนถูกต่อเข้ากับกระบอกทำความชื้น ตัวทำความชื้นนี้ก็จะเข้ามาแก้ปัญหาเหล่านี้ให้หมดไปได้ ทำให้ผู้ป่วยเกิดความสบายตัวและหายใจสะดวกมากยิ่งขึ้น
กระบอกให้ความชื้น ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
1. กระบอกปากกว้าง วัสดุอาจทำมาจากแก้วหรือพลาสติกได้ตามการใช้งาน
2. ฝาปิด วัสดุส่วนนี้ควรมีจุกยางปิดแน่นหนาป้องกันน้ำและอากาศรั่วไหล
3. หลอดสำหรับสร้างแรงสั่นหรือสร้างฟองสำหรับให้ความชื้น
4. สายยางสำหรับออกซิเจน
วิธีการดูแลรักษากระบอกให้ความชื้นต้องทำอย่างไร
1. ควรเช็ดทำความสะอาดและดูแลที่ระบายช่องลมอยู่เสมอ
2. ควรเปลี่ยนน้ำอยู่บ่อย ๆ และล้างทำความสะอาดด้วยน้ำยาที่อ่อนโยน ควรเลือกใช้น้ำอุ่นในการทำความสะอาด หรือหากสังเกตพบว่ามีคราบตะกรันติดอยู่ก็สามารถทำความสะอาดร่วมกับน้ำส้มสายชูได้ หลังจากนั้นใช้ผ้าสะอาดเช็ดให้แห้ง และผึ่งไว้ในที่ร่ม
3. น้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำสะอาด อย่างน้ำต้มสุก,น้ำดื่มจากขวด เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดตะกรัน
4. ควรเติมน้ำและรักษาระดับให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อป้องกันระดับความชื้นเกินจนเกิดภาวะน้ำค้างสาย
5. ไม่ควรเก็บกระบอกหรือตั้งกระบอกความชื้นไว้ในที่ที่มีความชื้นสูง
เกจ์ออกซิเจน มีจำหน่าย อย่างธรรมดา ราคา 1,200 บาท และ แบบคุณภาพดี ราคา 1,500 - 3,000 บาท
ร้านจักรวาลอ๊อกซิเย่น มี จำหน่าย กระบอกน้ำให้ความชื้น (Humidifier Bottle)
ร้านจักรวาลอ๊อกซิเย่น มี จำหน่าย สายให้ออกซิเจนทางจมูก (Nasal Cannula) ราคาเส้นละ 50 บาท
สายให้ออกซิเจนทางจมูก Nasal Cannula
Nasal Cannula เป็นอุปกรณ์ให้ออกซิเจนผ่านทางจมูก โดยจะมีลักษณะเป็นสายที่ต้องสอดเข้าไปทางช่องจมูกเล็กน้อยลึกประมาณ 1 เซนติเมตร ซึ่งจะเหมาะกับผู้ป่วยที่ต้องการความเข้มข้นของออกซิเจนที่ไม่สูงนัก เนื่องจากการให้ออกซิเจนแบบสายจะมีอัตราการไหลของออกซิเจนได้มากสุด 1 – 6 ลิตร/นาที ทำให้ไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่ต้องการออกซิเจนในปริมาณมากหรือต้องให้ออกซิเจนเป็นเวลานาน แต่ข้อดีของสายให้ออกซิเจนก็มีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการมีราคาที่ถูกกว่าอุปกรณ์แบบอื่น ผู้ป่วยสามารถใส่ได้ง่ายและไม่ค่อยรู้สึกอึดอัด รวมถึงยังสามารถใส่ขณะทานอาหารได้อีกด้วย
การใช้สายให้ออกซิเจนทางจมูก ดีอย่างไร
- การใส่สายออกซิเจนทางจมูกมีรูปแบบการใช้งานที่ง่าย ไม่ยุ่งยาก
- การสวมใส่สายออกซิเจนทางจมูกจะอึดอัดน้อยกว่าอุปกรณ์ให้ออกซิจนแบบอื่น
- สายออกซิเจนทางจมูกเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการออกซิเจนในปริมาณที่ไม่มากนัก
- สายออกซิเจนทางจมูกราคาถูกกว่าอุปกรณ์ให้ออกซิเจนแบบอื่น
- สามารถใสสายให้ออกซิเจนขณะทานอาหารหรือดื่มน้ำได้ โดยไม่ต้องถอดออก
- สวมใส่สายออกซิเจนผู้ป่วยแล้วจะรู้สึกเจ็บน้อย และเกิดแผลกดทับได้ยาก
วิธีใช้สายออกซิเจนทางจมูก Oxygen Cannula สำหรับผู้ป่วย
1.เตรียมสายให้ออกซิเจนทางจมูก และอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อม
2.ต่อสายออกซิเจนเข้ากับเครื่องผลิตออกซิเจนหรือถังออกซิเจน
3.ใส่สายออกซิเจนเข้าไปในจมูกลึกประมาณ 1 เซนติเมตร และให้ปลายโค้งชี้ไปทางด้านหลังของจมูก
4.เปิด Flow meter ให้มีอัตราการไหลของออกซิเจนตามที่แพทย์กำหนด
5.นำสายออกซิเจนไปพันไว้รอบศีรษะ ผ่านใบหูทั้งสองข้างไปทางด้านหลังและรัดให้พอดี ไม่ควรรัดแน่นจนเกินไป
เกจ์หายใจออกซิเจน M YR-88
สายยางให้ออกซิเจนทางจมูก ( Oxygen Cannula ) และ ขวดน้ำให้ความชื้น ( Humidifier )
--------------------------------------------------------------------------------------------------
เกจ์ปรับแรงดัน แก๊สอุตสาหกรรม
เกจ์ปรับแรงดันแก๊สออกซิเจน ( Oxygen Regulator )
เกจ์ออกซิเจน เป็นเกจ์วัดแรงดันสำหรับออกซิเจน แบบ 2 หน้าปัด ที่ใช้แสดงปริมาณแรงดันเข้าและออกจากท่อลมและมีลูกบิดสำหรับใช้ปรับปริมาณการไหลออกได้ ให้อัตราการไหลของออกซิเจนสูงสุด 40m^3/h เพียงพอสำหรับการตัดเหล็กที่หนาถึง 400 มม.
เกจ์ปรับแรงดันลมออกซิเจน ( Oxygen Regulator ) ราคา 850 บาท
--------------------------------------------------------------------------------------------------
เกจ์ปรับแรงดัน แก๊สอาร์กอน
เกจ์ปรับแรงดันลมอาร์กอน ( Argon Regulator )
--------------------------------------------------------------------------------------------------
เกจ์ปรับแรงดันแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2 )
เกจ์วัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2 )
--------------------------------------------------------------------------------------------------
เกจ์ปรับแรงดันแก๊สไนโตรเจน N2 ( Nitrogen Regulator )
--------------------------------------------------------------------------------------------------
เกจ์ปรับแรงดันแก๊สอะเซทิลีน ( Acetylene Regulator )
--------------------------------------------------------------------------------------------------
เกจ์ปรับแรงดันแก๊สอุตสาหกรรม, เกจ์ปรับแรงดันอาร์กอน, เกจ์ปรับแรงดันออกซิเจน, เกจ์ปรับแรงดันอะเซทิลีน, เกจ์ปรับแรงดันไนโตรเจน, เกจ์ปรับแรงดันลมออกซิเจน
--------------------------------------------------------------------------------------------------